วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ประวัติพันธุ์กล้วยไม้

ประวัติกล้วยไม้ไทย / วิวัฒนาการกล้วยไม้ไทย


วิวัฒนาการกล้วยไม้ไทย เรื่องโดย เรื่อง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลิต พงศ์ศุภสมิทธิ์

     กล้วยไม้ เป็นพืชที่อำนวยประโยชน์ต่อมนุษย์ในสังคมปัจจุบันมากพอควร ทั้งนี้ เนื่องจากกล้วยไม้เป็นยาบำรุงจิตใจ ที่สามารถทำให้มนุษย์ซึ่งมีแต่ความเคร่งเครียดจากการงาน การดำรงชีวิต ได้รับการผ่อนคลาย จากการชื่นชมความงามของดอกกล้วยไม้ต่างๆ นอกจากนี้ยังพบว่ากล้วยไม้บางชนิด สามารถนำมาเป็นส่วนประกอบของยาสมุนไพรได้อีกด้วยความงามของต้นใบ และดอกของกล้วยไม้นับว่ามีเสน่ห์เหนือกว่าดอกไม้อื่นใด สามารถดึงดูดความสนใจให้ใคร่อยากเป็นเจ้าของแก่ผู้ที่พบเห็น แม้จะเพียงชื่อก็ยังก่อให้เกิดจินตนาการ และให้ความรู้สึกถึงพีชดอกที่มีความสวยงามพิเศษแตกต่างกว่าพืชดอกชนิดอื่นๆ กล้วยไม้ที่ปลูกเลี้ยงเป็นอย่างดีแล้ว เมื่อดอกที่สวยงาม นอกจากจะทำให้ผู้ปลูกเลี้ยงมีความภูมิใจแล้ว ยังเป็นที่นิยมชมชอบแก่ผู้พบเห็นเรียกว่า ทำให้เจ้าของพลอยมีหน้ามีตาไปกับกล้วยไม้ด้วย โดยทั่วไปกล้วยไม้ที่มีความงามเป็นพิเศษมักมีจำนวนน้อย ไม่พอต่อความต้องการจาก
เหตุผล ดังนี้ จึงก่อให้เกิดวิทยาการเกี่ยวกับกล้วยไม้ด้านต่างๆ ขึ้นไม่ว่าด้านการแบ่งจำแนกชนิดพันธุ์ หรือสกุลการปลูกเลี้ยง ตลอดจนการขยายพันธุ์และวิชาการด้านอื่นๆ ที่จะเอื้อประโยชน์ให้เยาวชนรุ่นหลังได้ศึกษาหาความรู้ เพื่อการพัฒนาไปสู่ธุรกิจและสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง สังคม และประเทศชาติ

ประวัติการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ และบุคคลสำคัญในวงการกล้วยไม้ไทย
การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ หมายถึง การนำกล้วยไม้มาปลูกในโรงเรือนที่สร้างขึ้น และปรับสภาพแวดล้อมอันได้แก่ แสงสว่าง ความชื้น อุณหภูมิตลอดจนการให้ปุ๋ย และยาป้องกันกำจัดโรคแมลงที่เหมาะกับกล้วยไม้แต่ละชนิด จากความหมายนี้มนุษย์ได้รู้จักการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้มานานมากกว่า ๒๐๐ ปี เริ่มแรกโดยนักสำรวจพันธุ์ไม้จากทวีปยุโรป โดยเฉพาะประเทศอังกฤษ ชาวอังกฤษได้ออกสำรวจพันธุ์ไม้ในแถบอเมริกากลาง และอเมริกาใต้ ได้นำกล้วยไม้สกุลแคทลียา (Cattleya spp.) และสกุลอื่นๆ ในดินแดนแถบนี้มาปลูกเลี้ยงที่ยุโรปทำให้มีเรือนกล้วยไม้ และธุรกิจกล้วยไม้ เกิดขึ้นในประเทศอังกฤษ นอกจากนั้นยังได้นำกล้วยไม้จากเอเซียตอนใต้ไปปลูกเลี้ยง และพัฒนาพันธุ์ในยุโรปอีกด้วย จากการที่ประเทศอังกฤษ ได้อพยพคนจากอังกฤษไปยังอเมริกา คนเหล่านั้นก็ได้นำเอากล้วยไม ้ไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยทำให้มีเรือนกล้วยไม้หลายแห่งเกิดขึ้นในอเมริกา และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในเวลาต่อมาในระยะก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ชาวฮอลันดาได้ปกครองอินโดนีเซีย และได้รวบรวม และศึกษาพันธุ์กล้วยไม้ของเอเซีย และได้มีการทดลองผสมพัฒนาพันธุ์กล้วยไม้ต่างๆ ที่สวนพฤกษศาสตร์หลวงเมืองโบกอร์ (Bogor) ซึ่งเป็นสวนพฤกษศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมากของเอเซียในสมัยนั้น กล้วยไม้ที่มีชื่อเสียงจากการผสมของสวนพฤกษศาสตร์แห่งนี้ ส่วนมากจะเป็นสกุลหวาย และแวนด้า หลังสงครามโลกครั้งที่สองฮอลันดาได้มอบเอกราชให้อินโดนีเซีย หลังจากนั้นได้เกิดปัญหาทางการเมือง และเศรษฐกิจจึงทำให้กิจการ และโครงการกล้วยไม้ ในสวนพฤกษศาสตร์แห่งนี้ทรุดโทรมลงไปด้วย ปัจจุบันกล้วยไม้ลูกผสมที่เหลือจากสวนแห่งนี้ได้ถูก ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ กัน ต่อมาในแถบประเทศคาบสมุทรมลายูทำให้ได้กล้วยไม้ลูกผสมใหม่ๆ ที่บังเกิดประโยชน์ทางธุรกิจของมาเลเซีย และสิงคโปร์เป็นอย่างมาก


มลรัฐฮาวาย - เมื่อก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ฮาวายเป็นหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก อยู่ภายใต้การปกครองของสหรัฐอเมริกา หมู่เกาะแห่งนี้นอกจากมีชนพื้นเมืองที่เป็นชาวเกาะแล้ว ยังมีชาวญี่ปุ่น และชาวจีนที่อพยพมาตั้งถิ่นฐาน สภาพแวดล้อม ภูมิประเทศ และภูมิอากาศของหมู่เกาะฮาวายเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ ชาวญี่ปุ่นและชาวจีน จึ
งสนใจที่จะปลูกเลี้ยงกล้วย ไม้เป็นอย่างมาก ต่อมาเมื่อสงครามโลกครั้งที่สองได้จบลง กิจการกล้วยไม้ที่ถูกผลกระทบจากสงคราม ได้เริ่มฟื้นตัว และในภายหลังกิจการกล้วยไม้ในหมู่เกาะแห่งนี้ ได้ดำเนินไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากกล้วยไม้พื้นถิ่นในสภาพธรรมชาติของฮาวายมีน้อยมาก ฮาวายจึงได้สั่งพันธุ์กล้วยไม้ป่า จากประเทศในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เช่นไทย ฟิลิปปินส์ อินเดีย ศรีลังกา ตลอดจนหมู่เกาะนิวกินี และออสเตรเลียเพื่อใช้ในการผสม และปรับปรุงพัฒนาสายพันธุ์อย่างกว้างขวาง ช่วงระหว่าง พ.ศ. ๒๔๘๙-๒๔๙๘ คือ ประมาณสิบปีหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ฮาวายได้ประสบความสำเร็จในธุรกิจกล้วยไม้ ได้มีการประชาสัมพันธ์ ทางสื่อต่างๆ ตลอดจนบัตรอวยพรส่งความสุข ทำให้วงการกล้วยไม้ของฮาวายเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก และได้รับความไว้วางใจให้เป็นเจ้าภาพจัดงานชุมนุมกล้วยไม้โลกครั้งที่สอง ขึ้น เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๐ ณ.นครโฮโนลูลู ในระยะนั้นประเทศไทยนับว่าเป็นลูกค้าที่สั่งกล้วยไม้จากฮาวายเข้ามาปลูก เลี้ยงเป็นจำนวนมาก และยังไม่มีความคิดริ เริ่มที่จะผสมพัฒนาพันธุ์กล้วยไม้พื้นเมืองเอง ด้วยยังฝังใจว่ากล้วยไม้ต่างประเทศเท่านั้น ที่ควรค่าแก่การปลูกเลี้ยงในประเทศไทย

      สำหรับประวัติการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ ได้เริ่มโดยชาวต่างชาติเมื่อประมาณ ๑๖๐ ปีก่อน คือ ประมาณ พ.ศ.๒๓๘๐ ได้มีบันทึกไว้ว่า ได้มีเรือนกล้วยไม้ขนาดใหญ ่และมีการปลูกเลี้ยงอย่างถูกวิธี โดยการนำกล้วยไม้จากต่างประเทศเข้ามาปลูกเลี้ยงในสภาพแวดล้อมแบบในโรงเรือน ซึ่งป็นของนายเฮนรี่ อาลาพาสเตอร์ (ต้นสกุล เศวตศิลา) ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นนักกล้วยไม้ที่มี ชื่อเสียงมาก ต่อมาเมื่อท่านได้ถึงแก่กรรมลง ในปี พ.ศ.๒๔๒๙ พระเจ้าบรมวงษ์เธอกรมหมื่นทิวากรวงษ์ประวัติ ได้รับช่วงกล้วยไม้พันธุ์ต่างๆ ของนายอาลาพาสเตอร์ มาปลูกเลี้ยง และได้สะสมพันธุ์ต่างๆ เพิ่มเติมท่านได้ทำการผสมพัฒนาพันธุ์กล้วยไม้ต่างๆ เหล่านั้นจนมีความชำนาญ และได้รับการยกย่องต่อมาว่าเป็นผู้มีฝีมือการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้อีกท่าน หนึ่ง การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ในเมืองไทยได้พัฒนารูปแบบการปลูกเลี้ยงอย่างรวดเร็วจน ถึง พ.ศ.๒๔๗๒ ได้มีผู้ทำกล้วยไม้สกุลหวายลูกผสมที่มีชื่อว่า มาดามปอมปาดัวร์ ปลูกกันแพร่หลายเป็นเรือนโรงกล้วยไม้ขนาดใหญ่หลายแห่ง เนื่องจากเลี้ยงดูง่ายเจริญเติบโตได้ดีในเขตพระนคร และสามารถให้ดอกได้เรื่อยๆตลอดปี ซึ่งนับว่าเป็นการเริ่มปลูกกล้วยไม้อย่างจริงจังในประเทศไทย แต่ งานด้านวิชาการต่างๆยังคงจำกัดอยู่ในแวดวงของคนกลุ่มน้อย ไม่ได้แพร่หลายเหมือนปัจจุบันนี้อย่างไรก็ตามเมื่อก่อน พ.ศ.๒๕๐๐ การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ในเมืองไทย มักจะกล่าวกันว่าเป็นงานหรือเป็นเรื่องของคนแก่ หรือผู้มีอันจะกิน ต่างคนก็ต่างปลูกเลี้ยงในบ้านของตนเอง มิได้มีการคบค้าสมาคมซึ่งกัน และกันปลูกกันผิดๆ ถูกๆ ทำให้กล้วยไม้ที่ปลูกเลี้ยงงามบ้างไม่งามบ้าง แล้วแต่ความสามารถในการดูแลรักษา ของแต่ละคนว่าเหมาะสมกับชนิดของกล้วยไม้ที่ตัวเองปลูกมากน้อยเพียงใด ต่อมาหลังจาก พ.ศ.๒๕๐๐ การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ได้อิงวิชาการมากขึ้น ผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ได้ออกจากบ้านมาพบปะสังสรรค์ มีการคบค้าสมาคมร่วมกัน มีการแลกเปลื่ยนความรู้ ประสบการณ์ ตลอดจนการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม ถึงกับมีคำพูดในหมู่นักเลี้ยงกล้วยไม้ว่า “ผู้เลี้ยงกล้วยไม้
ไม่ ได้แบ่งชนชั้น เพศ วัย” หรืออาจจะพูดว่าคุณวุฒิ และวัยวุฒิจะไม่เป็นอุปสรรคในการทำประโยชน์ให้กับส่วนรวมในวงการกล้วยไม้ไทย ต่อไป ในห้วงระยะเวลานี้ทำให้เกิด “คนดีศรีกล้วยไม้ไทย” ขึ้นสี่ท่านด้วยกันในสี่ท่านนี้เป็นชาวต่างประเทศหนึ่งคน ทุกคนได้ทำประโยชน์แก่วงการกล้วยไม้ไทย ที่แตกต่างกันออกไปดังนี้คือ
ท่านที่หนึ่ง และที่สองได้ทำงานเกี่ยวกับกล้วยไม้ไทยร่วมกัน สองท่านนี้คือ ท่านอาจารย์เต็ม สมิตินันท์ (พ.ศ.๒๔๖๓-๒๕๓๘) และท่านไซเดนฟาแดน (Gunnar Seidenfaden) สองท่านนี้ได้ทำประโยชน์มหาศาลให้กับวงการกล้วยไม้ไทย หรืออาจจะพูดว่าวงการกล้วยไม้โลกก็ว่าได้ ท่านได้ทำหน้าที่ในการสำรวจ จำแนก แบ่งแยกชนิดพันธุ์ของกล้วยไม้พื้นเมือง ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยและรวมไปถึงกล้วยไม้ชนิดพันธุ์ที่มีถิ่นกำเนิด และกระจายพันธุ์ในแถบประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงในภูมิภาค เอเซียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย เช่น ประเทศลาวเป็นต้น ผลงานร่วมกันของทั้งสองท่าน ได้ตีพิมพ์เป็น เอกสารวิชาการชื่อว่า “THE ORCHIDS OF THAILAND A PRILIMINARY LIST” รวบรวม และตีพิมพ์โดยสยามสมาคม ในปี พ.ศ.๒๕๐๑-๒๕๐๒ โดยงานในหนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมไว้ซึ่งชนิดพันธุ์กล้วยไม้พื้นเมืองของไทย ทั้งหมดเท่าที่สำรวจพบใน ขณะนั้น และได้บอกถึงลักษณะต่างๆ ของกล้วยไม้พร้อมมีรูปวาดบรรยาย รายละเอียด ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อพื้นเมืองตามที่ชาวบ้านใช้เรียกกล้วยไม้นั้นๆ แหล่งกำเนิดสถานที่ๆพบกล้วยไม้นั้นๆ ในธรรมชาติ ผลงานอีกชิ้นหนึ่งของท่านไซเดนฟาเดน คือเอกสารวิชาการ ชื่อว่า ORCHID GENERA IN THAILAN D ตั้งแต่ฉบับที่ ๑ ถึง ๑๔ และ CONTRIBUTION TO THE ORCHID FLORA OF THAILAND ๑๒ และฉบับที่ ๑๓ งานประจำของอาจารย์เต็ม สมิตินันท์ เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านพฤกษศาสตร์ ของกรมป่าไม้ ส่วนท่าน ไซเดนฟาเดน เป็นเอกอัคราชฑูตเดนมาร์ก ประจำประเทศไทย เนื่องจากทั้งสองท่านมีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษทางด้านพฤกษศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านกล้วยไม้ จึงได้รับการดำรงตำแหน่งทางวิชาการเป็นศาสตราจารย์ นอกจากนี้ท่าน ไซเดนฟาเดนยังได้รับ ปริญญาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้อีกด้วย


บุคคลที่มีความสำคัญต่อกล้วยไม้ไทยอีกท่านหนึ่งก็คือ ท่านศาสตราจารย์ ดร.ระพี สาคริก ท่านเป็นผู้หนึ่งที่ได้นำกล้วยไม้ไทยให้นานาอารย
ประเทศได้ รู้จัก โดยท่านได้อุทิศเวลาว่างส่วนตัวในการวางแผนวิจัย และหาทางพัฒนากิจการกล้วยไม้ไทย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๗ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๐๐ ได้เป็นผู้เริ่มก่อตั้งสมาคมกล้วยไม้บางเขน จากเดิมเป็นชมรมกล้วยไม้บางเขน และได้สถาปนาเป็น สมาคมกล้วยไม้แห่งประเทศไทย ในปี พ.ศ.๒๕๑๒ และอีกสองปีต่อมา สมาคมได้รับพระมหากรุณาธิคุณรับไว้ใน พระบรมราชูปถัมภ์หลังจากนั้นท่านได้ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งสมาคมชมรมกล้วย ไม้ ในต่างจังหวัดได้เริ่มนำวิชาการกล้วยไม้มาใช้อย่างเป็นรูปธรรม ในปีพ.ศ.๒๕๐๔ โดยมีการเปิดสอนวิชากล้วยไม้ในมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ จากนั้นได้เริ่มนำวงการกล้วยไม้ไทยออกสู่ตลาดต่างประเทศ โดยท่านจะเป็นองค์ปาฐกในงานชุมนุมกล้วยไม้โลกทุกครั้งตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๖ เป็นต้นมา จากนั้นในปี พ.ศ.๒๕๑๕ ท่านได้นำงานชุมนุมกล้วยไม้โลกครั้งที่ ๙ มาจัดที่ประเทศไทยในป ีพ.ศ.๒๕๒๑ เนื่องจากท่านได้มีบทบาทในงานประชุมกล้วยไม้ต่างๆ จึงได้รับความไว้วางใจ ให้เป็นกรรมการประสานงานงานกล้วยไม้ระดับโลก กรรมการอนุรักษ์กล้วยไม้โลก และกรรมการอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งล้วนแต่เป็น
เกียรติของประเทศไทยทั้งสิ้น รวมทั้งที่ท่านได้เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อีกด้วยท่านหนึ่ง คือ


คุณทองหล่อ รักไพบูลย์สมบัติ ท่านสำเร็จการศึกษาเพียงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ แต่ความรู้ความสามรถทางด้านกล้วยไม้อันเกิดจากการเรียนรู้ศึกษาด้วยตนเอง นับว่ามีมากมาย ท่านเป็นนักธุรกิจกล้วยไม้ ผู้หนึ่งที่นำธุรกิจกล้วยไม้ของไทยสู่สากลให้มากยิ่งขึ้นกล่าวคือ อ่านได้นำสินค้ากล้วยไม้ไทยไปแสดงในต่างแดน ทำให้ชาวต่างประเทศได้รู้จักกล้วยไม้ไทยให้เป็นที่รู้จักกว้างขวางยิ่งขึ้น และเมื่อได้เดินทางไปต่างประเทศ คุณทองหล่อ รักไพบูลย์สมบัติท่านได้ นำพันธุ์กล้วยไม้จากต่างประเทศ ชนิดพันธุ์ใหม่ๆ นำกลับเข้ามาในไทยเพื่อให้ผู้ปลูกเลี้ยงชาวไทย ได้พัฒนาเพื่อนำกลับเป็นสินค้ากลับส่งขายออกไปยังต่างประเทศอีกครั้ง


ผลสืบเนื่องจากการติดต่อกับชาวต่างชาติทำให้ธุรกิจ กล้วยไม้ได้ขยายกว้างขึ้นผลอันนี้ทำให้การพัฒนากล้วยไม้ไทยได้ ดำเนินการไปเรื่อย ๆ อย่างไม่หยุดนิ่ง และทำให้เกิดนักธุรกิจด้านกล้วยไม้รุ่นหลัง ๆ อีกหลาย ๆ คน จากความสามารถความดีที่คุณทองหล่อ ได้ทำให้กับวงการกล้วยไม้ไทยในด้านธุรกิจนี่เอง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงได้มอบมหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แก่ท่านทั้ง 4 ท่านที่ได้กล่าวมานี้เรียกได้ว่าเป็นผู้บุกเบิกวงการกล้วยไม้ไทย จะเห็นได้ว่าแต่ละท่านทำงานให้กับวงการกล้วยไม้ไทยในแต่ละด้านโดยงานต่างๆ ที่แต่ละท่านทำแทบจะไม่ซ้ำซ้อนกันเลย จากการที่ทั้ง 4 ท่านได้บุกเบิกวงการกล้วยไม้ไทยขึ้น ทำให้เกิดนักวิชาการด้านกล้วยไม้ นักธุรกิจกล้วยไม้ ตามมาเป็นลำดับ ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระงานของทั้ง 4 ท่านเป็นอย่างมาก


ยกตัวอย่างพันธุ์กล้วยไม้
แกรมมาโต
  
ฟ้ามุ่ย

เอื้องมือชะนี
                           



   
 
 
 
 
และก็ขออภัยถ้าผิดพลาด  ณ  ประการใดขออภัย  ณ  ที่นี้ด้วย                                                                                          

ที่มา:www.tjorchid.com/category